แบบไหนถึงเสี่ยงติดเชื้อ HIV

15 ก.ค. 64 11:28 น. / ดู 1,640 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
เรารู้กันดีแหละว่า "เชื้อไวรัสเอชไอวี" ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าความเสี่ยงแบบไหนล่ะถึงจะเรียกว่าคุณมีโอกาสได้รับเชื้อเอชไอวีมาจริง ๆ วันนี้ เรามีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับเอชไอวีมาฝากกันครับ


ความเสี่ยงใดที่ทำให้เสี่ยงต่อ HIV มีอะไรบ้าง

สารคัดหลั่งของร่างกายที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ ได้แก่ เลือด น้ำในช่องคลอด น้ำอสุจิ น้ำนมแม่ แต่สารคัดหลั่งที่แทบจะไม่มีเชื้ออยู่เลย ได้แก่ น้ำลาย น้ำตา น้ำมูก เสมหะ อุจจาระ ปัสสาวะ หรือแม้แต่เหงื่อ เป็นต้นโดยปริมาณของไวรัสเอชไอวีที่อยู่ในสารคัดหลั่งมีไม่เท่ากัน เนื่องจากเจ้า HIV นั้นชอบเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดเป็นส่วนใหญ่ และอาศัยเม็ดเลือดขาวของเราให้การแบ่งตัวเพื่อเจริญเติบโต ดังนั้น สารคัดหลั่งใดที่ไม่มีเลือดเจือปนหรือเจือปนน้อยก็จะมีปริมาณ HIV น้อยเช่นกัน เพราะฉะนั้นติดหรือไม่ติดขึ้นอยู่กับปริมาณและช่องทางการรับเชื้อของแต่ละคนด้วย

เชื้อเอชไอวีที่อยู่ภายนอกร่างกาย มีอายุได้นานแค่ไหน

HIV ที่อยู่นอกร่างกายแล้วไม่สามารถอยู่ได้นานครับ เพราะด้วยสภาพแวดล้อมภายนอก ทั้งจากความร้อน แสงแดด สภาพอากาศ ความเป็นกรดหรือด่าง จากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ เชื้อก็ตายเรียบร้อยแล้ว แต่หากได้ที่เหมาะสมอย่างความชื้นมาก ๆ หรือห้องที่มีความเย็นจัดก็สามารถอยู่ได้หลายวันแต่ไม่ถึงกับเป็นสัปดาห์ ๆ ครับ

3 ช่องทางหลักที่ทำให้ติดเชื้อ HIV มีอะไรบ้าง

เลือด

∙ การได้รับเลือด หรือการถ่ายเลือดที่ไม่ได้ผ่านการคัดกรองเชื้อมาก่อน แต่ปัจจุบันนี้มีการคัดกรองทุกครั้งจึงหมดห่วง
∙ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้อื่น
∙ การใช้เครื่องมือสักหรือเจาะที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อที่ได้มาตรฐาน
∙ การถูกเข็มทิ่มตำ กรณีบุคลากรการแพทย์

เพศสัมพันธ์

การมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าช่องทางใดก็ตามที่ไม่ได้ป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัย

แม่สู่ลูก

การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกในระหว่างการคลอดหรือติดระหว่างที่อยู่ในครรภ์ และระหว่างให้น้ำนม แต่ปัจจุบันแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ก่อนหรือผู้ที่วางแผนมีบุตรก่อน เพื่อที่หากพบเชื้อจะได้ทำการให้ยารักษาทันที ไม่ให้เชื้อส่งต่อไปยังเด็กในครรภ์ได้

ทั้งนี้เราไม่อยากให้คาดเดาไปเองว่าแบบไหนเสี่ยงมาก หรือเสี่ยงน้อย อยากให้ทุกคุณตระหนักถึงข้อดีของการตรวจเอชไอวีมากกว่า เพราะหากกังวลใจในพฤติกรรมเสี่ยงและตัดสินใจไม่ไปตรวจ ทิ้งระยะไว้นานจนไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อ ก็อาจทำให้ป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ จากเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ในอนาคตครับ เพราะฉะนั้นไปตรวจเอชไอวีสักครั้งในชีวิตเพื่อให้รู้สถานะของตัวเอง และสามารถป้องกันตัวเองไม่ให้มีความเสี่ยงได้ตลอดไปครับ

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก : hivthai.com
แก้ไขล่าสุด 15 ก.ค. 64 11:29 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google