กลยุทธ์ราคา ( Price Strategy ) โดยการใช้ กลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิต

1 มี.ค. 62 13:40 น. / ดู 1,837 ครั้ง / 3 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )
เป็นการกำหนดว่าเราจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูงหรือราคาต่ำ สิ่งที่จะต้องตระหนักคือ ราคาที่ได้กำหนดไว้นั้นเหมาะสมในการแข่งขัน หรือสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้านั้นหรือไม่กลยุทธ์ด้านราคา ( Price strategy ) ในการกำหนดกลยุทธ์ด้านราคามีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาดังนี้
              1.ตั้งราคาตามตลาด ( On going price ) หรือตั้งราคาตามความพอใจ ( Leading price )
                    1.1 ตั้งราคาตามตามตลาด (On going price) เหมาะสำหรับสินค้าที่สร้างความแตกต่างได้ยากจึงไม่สามารถจะตั้งราคาให้แตก ต่างจากตลาดคู่แข่งขันได้ นั่นคือ การตั้งราคาตามคู่แข่งขัน
                    1.2 ตั้งราคาตามความพอใจ  ( Leading price )  เป็นการตั้งราคาตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึงคู่แข่งขัน เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างในตราสินค้า สินค้าที่มีเอกลักษณ์ส่วนตัวมีภาพพจน์ที่ดี จะตั้งราคาเท่าไรก็ไม่มีใครเปรียบเทียบ
              2. สินค้าจะออกเป็นแบบราคาสูง ( Premium price )  เมื่อแน่ใจในคุณภาพที่เหนือกว่าและการยอมรับในราคาของลูกค้าหรือราคามาตรฐาน ( Standard ) เมื่อใช้การตั้งราคาโดยพิจารณาจากราคาของคู่แข่งขัน หรือตราสินค้าเพื่อการแข่งขัน ( Fighting brand )  เป็นสินค้าด้อยคุณภาพกว่าคู่แข่งขันเล็กน้อย จะลงตลาดล่าง
              3. การตั้งราคาเท่ากันหมด  ( One pricing ) คือสินค้าหลายอย่างที่มีราคาติดอยู่บนกล่อง หมายถึง ไม่ว่าจะขายอยู่ที่ใดฤดูหนาวหรือฤดูร้อนราคาก็เท่ากันหมด  หรือราคาแตกต่างกัน ( Discriminate price ) ข้อดี คือสามารถเรียกราคาได้หลายราคา แต่ข้อเสียก็คือ เราต้องหาเหตุผลในการตั้งราคาหลายอย่าง เพื่อให้คนยอมรับได้
              4. การขยายสายผลิตภัณฑ์ ( Line extension ) ในกรณีนี้การนำเสนอสินค้าเริ่มต้นด้วยราคาหนึ่ง แล้วมีกลยุทธ์เผยแพร่ความนิยมไปยังตลาดบน หรือตลาดล่าง
              5.  การขยับซื้อสูงขึ้น ( Trading up ) เป็นการปรับราคาสูงขึ้นทำให้ได้กำไรมากขึ้น จึงพยายามขายให้ปริมาณมากขึ้นหรือการขยับซื้อต่ำลง ( Trading down ) เป็นการผลิตสินค้าที่มีราคาแพงให้มีคุณภาพกว่าสินค้าที่ราคาถูกเล็กน้อยแต่ ตั้งราคาสูงกว่า             
6. การใช้กลยุทธ์ด้านขนาด ( Size ) คือไม่ทำขนาดเท่ากับผู้ผลิตรายอื่น ๆ
      ปัญหาที่คนขายของหรือดำเนินธุรกิจมักพบเจอได้เสมอๆ ก็คือโดนตัดราคาสินค้าจากคู่แข่ง ขายราคาถูกกว่าร้านของเรา อาจจะทำให้ลูกค้าหันไปซื้อของจากร้านค้าคู่แข่งมากกว่าร้านของเรา แน่นอนว่าหากสินค้าชนิดเดียวกันแต่ราคาถูกกว่า ลูกค้าย่อมเลือกซื้อจากร้านนั้นอยู่แล้ว โดยเฉพาะร้านค้าที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต แค่คลิกก็สามารถเปรียบเทียบราคาได้แล้วว่าเว็บไหนขายถูกกว่ากัน การตัดราคาสินค้าถือเป็นกลยุทธ์การตลาดอย่างหนึ่งในการขายของที่มีคู่แข่งอยู่ในตลาด จึงถือเป็นเรื่องที่ธรรมดาที่พบเจอได้ทุกสินค้า
“จัดโปรโมชั่นลดราคาเป็นบางช่วง” การจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าช่วยกระตุ้นยอดขายได้ดี และควรมีโปรโมชั่นลดราคาสินค้าอยู่อย่างสม่ำเสมอทุกๆเดือน และส่งข่าวสารให้ลูกค้าคุณทราบทุกครั้งที่จัดโปรโมชั่นลดราคา แนะนำว่าโปรโมชั่น ควรจัดในช่วงปลายเดือนจึงถึงต้นเดือน เพราะช่วงนี้ เงินเดือนออก ลูกค้ามีกำลังการซื้อที่ดี

วิธีแก้ปัญหาระยะยาว
“หาทางลดต้นทุน”  เช่นการเจรจากับผู้ผลิตโดยการสั่งซื้อเป็นจำนวนมากขึ้นหรือหากเราเป็นผู้ผลิตเอง ก็ต้องคุมต้นทุนวัตถุดิบ โดยต่อรองกับซัพพลายเออร์ แต่ต้องลดต้นทุนโดยที่คงคุณภาพสินค้าไว้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแก้ปัญหาได้ในระยะที่ยาวกว่า
“มุ่งหาลูกค้าใหม่ๆ” บางครั้งการเลี่ยงไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ นอกจากจะได้ลูกค้าใหม่แล้วยัง ก็เป็นการเลี่ยงการแข่งขันที่ดุเดือดอีกด้วย
“ออกสินค้าใหม่ๆอยู่เสมอ” การโดนคู่แข่งตัดราคา มีผลกระทบทำให้ยอดขายจากร้านค้าของเราลดลงได้ ดังนั้นอีกหนึ่งคำแนะนำก็คือเราควรออกสินค้าใหม่ๆอยู่เสมอๆ และควรหาสินค้าใหม่ที่มีคู่แข่งน้อย หรือไม่มีคู่แข่งเลย ช่วยให้เราไม่ต้องกังวลใจว่าจะมีคู่แข่งมาตัดราคา แต่สำหรับสินค้าที่ขายดีอยู่แล้วก็เก็บไว้ขายต่อไป แต่สินค้าใหม่ๆช่วยให้ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ด้วย
“ดูแลลูกค้าด้วยใจจริง” ร้านค้าที่มีความสื่อสัตย์ต่อลูกค้า มีสินค้าที่ราคายุติธรรม จัดส่งด้วยความรวดเร็ว รับประกันคุณภาพสินค้า หรือรับประกันความพอใจของลูกค้า ดูแลลูกค้าด้วยความจริงใจ ยังไงลูกค้าประจำของเราก็มั่นใจที่ซื้อสินค้าจากร้านของเราที่มีความน่าเชื่อสูง มากกว่าร้านค้าที่ไม่รู้จัก หรือร้านค้าหน้าใหม่ที่ความน่าเชื่อน้อยกว่า แม้จะราคาถูกกว่าก็ตาม เพราะเขาไม่มั่นใจว่าจะได้รับสินค้าหรือบริการที่ดีเหมือนกับได้รับจากร้านค้าของคุณหรือไม่


การโดนคู่แข่งตัดราคานั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาของการขายของ การปรับตัวให้ทันและคอยเช็คราคาสินค้าที่เราขายอยู่นั้น จากร้านค้าอื่น ๆ นั้น ช่วยให้ทันสามารถปรับกลยุทธ์ต่าง ๆ ได้ทันท่วงที และสามารรักษายอดขายให้เติบโตได้ แต่การลดราคาสินค้านั้น ไม่สามารถทำได้ในระยะเวลานานได้ เพราะหากเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ที่ซื้อมาจากที่นี่เดี่ยวกัน ย่อมมีต้นทุนการผลิตที่เท่ากัน หมายถึง ลดกำไรด้วย แต่ค่าใช้จ่ายเรื่องอื่นก็ยังเท่าเดิม เมื่อกำไรน้อยก็ไม่พอที่จะนำไปจ่ายสำหรับค่าใช้จ่าย ๆ อื่น เช่น ค่าใช้จ่าย ค่าการตลาด ฯลฯ จึงมีโอกาสสูงที่จะต้องปิดกิจการได้

กลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิต
      การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องแสวงหาผลกำไรเพื่อเป็นผลตอบแทนของการทำงาน ซึ้งกลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิตก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสำรวจและแก้ไขจุดบกพร่องภายในองค์กรธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อความอยู่รอดขององค์กรธุรกิจในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำและเป็นการเพิ่มศักยภาพของการแข่งขันในยุคที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง
      องค์การธุรกิจต้องรู้ว่าจะสามารถเพิ่มรายได้และลดต้นทุนได้อย่างไร ซึ่งหลักการลดต้นทุนก็คือทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุดหรือตัดงานที่ไม่จำเป็นออกไป แต่การใช้กลยุทธ์การลดต้นทุนต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้าและการบริการที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นที่สำคัญ โดยมีแนวทางสำคัญดังต่อไปนี้
    1. โครงสร้างการเงิน รายได้ที่ได้จาการประกอบธุรกิจมาเป็นรายได้สุทธิของการขายสินค้าและบริการ การทำให้รายได้สุทธิเพิ่มขึ้น ต้องขายสินค้าให้ได้เงินจำนวนเพิ่มขึ้นและลดรายจ่ายลง
        1.1  การทำให้รายได้เพิ่มขึ้น มีดังต่อไปนี้
      - สามารถเพิ่มจากปริมาณการขายและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
      - การขึ้นราคาสินค้า แต่ควรคำนึงถึงราคาในตลาดคู่แข่งเป็นหลัก
      - การขายสินทรัพย์แบบถาวรและสินทรัพย์หมุนเวียนที่ไม่จำเป็น เช่น ที่ดิน เครื่องจักร  อาคาร
      - การออกหุ้น หรือเพิ่มหุ้นขึ้น
        1.2  การลดรายจ่าย มีดังต่อไปนี้
      - ลดต้นทุนผันแปรและเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต
      - ลดต้นทุนคงที่ในส่วนที่เป็นโสหุ้ยการผลิตโดยที่ตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไป
      - ลดค่าใช้จ่ายด้านการบริการและการขาย
      - ลดค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร
      - ลดค่าใช้จ่ายทางด้านการเงิน ได้แก่  ดอกเบี้ยโดยการกู้เงินที่มีดอกเบี้ยต่ำ
      - ลดค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
      - ลดค่าหนี้สูญ โดยการบริหารสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ
      - เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานองทั้งพนักงานและผู้รับเหมา
      - หาแนวคิด เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ ในการลดต้นทุน
    2. ระดับความยากง่ายในการลดต้นทุน สามารถแยกออกได้เป็น 4 ระดับ
        ระดับ 1 : เปรียบเสมือนการตักน้ำจากบ่อ ลดได้มากหรือมีวิธีการและช่องทางให้ลดต้นทุนได้มาก
        ระดับ 2 : เปรียบเสมือนน้ำหมดบ่อแล้วต้องขอดเอาจากก้นบ่อ ซึ่งจะยากขึ้น
          ระดับ 3 : เปรียบเสมือนน้ำที่แห้งแล้ว ตักไม่ได้ต้องเอาผ้าแห้งไปซับ แล้วเอาผ้ามาบิดจึงจะได้น้ำ ระดับนี้ต้องใช้ความพยายามมากขึ้น
          ระดับ 4 : เปรียบเสมือนน้ำหมดบ่อแล้ว ใช้ผ้าซับอย่างไรก็ไม่เปียกผ้าสักที แต่เราต้องพยายามเอาน้ำให้ได้ ระดับนี้ยากสุดเพราะมองไม่เห็นช่องทางที่จะลดต้นทุนได้
    3. วิธีในการลดต้นทุน เนื่อจากค่าใช้จ่าย = ( ต้นทุนต่อหน่วย ) × ( ปริมาณ ) ดังนั้นจึงมีวิธีดังต่อไปนี้
          3.1 การทำให้ต้อนทุนต่อหน่วยต่ำที่สุด เช่น ลดต้นทุนราคาน้ำมันราคาวัตถุดิบ
          3.2 ทำให้ปริมาณน้อยลง เช่น ปริมาณที่ใช้ให้ลดลง
          3.3 ตัดงานนั้นออกไปหากไม่มีความจำเป็น

ขึ้นชื่อว่าการทำธุรกิจแล้ว ยังไงก็ต้องมีต้นทุน สำหรับบริษัทใหญ่ ๆ อาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากการจ่ายเงินไปกับต้นทุนที่ไม่จำเป็นมากนัก แต่สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือแม้แต่ Startup ที่เพิ่งเริ่มกิจการ ความสามารถในการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอาจจะมีผลกับความอยู่รอดของธุรกิจในระยะยาว
1. จ้าง outsource
งานบางอย่างที่เป็นโปรเจคต์ระยะสั้นหรือเมื่อจบโปรเจคต์แล้วหน้าที่นั้น ๆ อาจจะไม่จำเป็น ก็ควรจะจ้างฟรีแลนซ์หรือจ้างแบบ contractor มาทำมากกว่าจ้างพนักงานประจำที่จะต้องมีต้นทุนเรื่องสวัสดิการเพิ่มเข้ามาอีก ในกรณีที่ผลงานของ freelance คนนั้นโดดเด่นมาก คุณอาจจะจ้างเขามาเป็นพนักงานประจำในภายหลังก็ได้

2. จ้างเด็กฝึกงาน
วิธีนี้ถือว่าเป็น win-win solution เพราะเด็กฝึกงานก็ได้ประสบการณ์กลับไป ส่วนธุรกิจเองก็ได้จ่ายค่าจ้างในราคาที่ไม่แพง แต่อย่าลืมว่าต้องเอาต้นทุนในเรื่องการสอนงานมาบวกลบคูณหารด้วยว่าคุ้มหรือไม่ สำหรับในบ้านเราไม่ค่อยเห็นการจ่ายเงินจ้างเด็กฝึกงานเท่าไร

3. ใช้อีเมล์แทนการส่งจดหมาย
หลาย ๆ คนอาจจะถามว่าสมัยนี้ยังมีการส่งจดหมายหรือพัสดุจริง ๆ กันอีกเหรอ ที่จริงก็ยังมีอยู่ อาจจะใช้เมื่อต้องการแสดงความยินดีกับบริษัทคู่ค้า หรือแสดงถึงคำขอบคุณที่มีต่อลูกค้า ค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างแสตมป์ ซองจดหมาย ค่าออกแบบและจัดพิมพ์การ์ด อาจจะเพิ่มขึ้นแบบไม่รู้ตัว และกลายเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมากไปในที่สุด ถ้าเป็นไปได้ก็ใช้ส่งอีเมล์ดีกว่า และยังช่วยลดการใช้กระดาษด้วย

4. Print งานให้น้อยลง
หมึกพิมพ์ กระดาษ ตู้เก็บกระดาษ ล้วนเป็นต้นทุนที่สามารถกำจัดออกไปได้ง่าย ๆ ในยุคดิจิทัล ลองเก็บเอกสารไว้ใน Hard disk สแกนเอกสารเป็นไฟล์ดิจิทัลมาอ่านแทนการถ่ายเอกสาร แต่ก็อย่าลืมระวังเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลด้วย

5. ขอลดค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเครดิต
เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กส่วนมากอาจจะใช้บัตรเครดิตสำหรับค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งเมื่อมาคิดถึงค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายไปทุก ๆ ปีก็ถือว่าเป็นเงินมากอยู่ การขอลดอัตราค่าธรรมเนียมอาจจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้

6. ต่อรองราคาสินค้าที่ซื้อจากซัพพลายเออร์
นอกจากจะต่อรองกับธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตแล้ว ก็อย่าลืมต่อราคากับซัพพลายเออร์ด้วย ซึ่งซัพพลายเออร์ส่วนมากก็จะคุ้นเคยกับการเจรจาในลักษณะนี้อยู่แล้ว เนื่องจากพวกเขาก็ต้องรักษาฐานลูกค้าไว้เหมือนกัน



7. จ่ายเงินให้ซัพพลายเออร์เร็วขึ้น
ซัพพลายเออร์บางที่จะมีการให้ส่วนลดสำหรับการจ่ายเงินภายในเวลา 2-3 วันหลังได้รับสินค้าหรือบริการ ส่วนลดเหล่านี้แหละคือต้นทุนที่ลดลง วิธีนี้ยังเป็นการรักษาความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ในระยะยาวอีกด้วย

8. ซื้อสินค้าตกรุ่นมาใช้งาน
เทคโนโลยีในยุคนี้เปลี่ยนเร็วมากจนตามไม่ทัน สินค้าตกรุ่นที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของคุณและยังใช้งานได้ดีอาจจะมีราคาถูกลงทันทีที่มีสินค้าใหม่ๆ เปิดตัวขึ้นมา ถ้าเป็นส่วนงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ของที่มีนวัตกรรมล่าสุด การใช้ของตกรุ่นอาจจะช่วยประหยัดต้นทุนได้

9. เดินทางให้น้อยลง
คุณสามารถประหยัดทั้งเวลาและเงินเมื่อตัด Trip ที่ไม่จำเป็นออก ลองใช้การประชุมแบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Skype หรือ Webex เพื่อพูดคุยกับคนจากหลาย ๆ สถานที่แทนการเดินทางไปหาพวกเขา

10. ให้พนักงานทำงานที่บ้าน
ถ้าเป็นไปได้ ลองให้พนักงานทำงานจากที่บ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของ ค่าใช้จ่ายในสำนักงาน ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งคิดกันเป็นเงินต่อปีแล้วก็ไม่ใช่จำนวนน้อยๆ แต่สำหรับในประเทศไทย เรื่อง work from home อาจจะยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก เนื่องจากเจ้าของธุรกิจอาจจะกังวลว่าเมื่อพนักงานทำงานที่บ้านอาจจะทำให้งานไม่เดิน ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมีความเห็นว่าปัญหานี้แก้ไม่ยาก เพียงแค่กำหนด output หรือเป้าหมายของงานให้ชัดเจนก็น่าจะช่วยได้
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 8.1

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | CRDC-FC | 4 มี.ค. 62 15:14 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz420438 | 20 มี.ค. 62 13:16 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 8.1

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google